บทที่ 2


บทที่ 2
 
เอกสารที่เกี่ยวข้อง

                รางานโครงงานแบบวิจัย เรื่อง กล้วยฉาบ คณะผู้จัดทำได้ศึกษาค้นคว้าเอกสารและงานวิจัยทีเกี่ยวข้องและข้อเสนอรายละเอียดตามหัวข้อต่อไปนี้
1.กล้วยหิน
2.กล้วยหอม
3.น้ำตาลทรายขาว


      1.   กล้วยหอม

ชื่อสามัญ                  Gros Michel
ชื่อพ้อง                      กล้วยหอม
ชื่อวิทยาศาสตร์        Musa (A

AA group) "Kluai Hom thong"
                   
             กลุ่มย่อย Gros Miche
แหล่งที่พบ
               พบทั่วไป

กล้วยหอม เป็นไม้ล้มลุกชนิดหนึ่ง มีอยู่หลากหลายสายพันธุ์ เช่น กล้วยหอมจันท์ กล้วยหอมทอง กล้วยหอมเขียว จัดเป็นผลไม้ที่อุดมไปด้วยคุณค่าสารอาหารครบถ้วนตามหลักทางโภชนาการ อาทิเช่น มีวิตามิน ไฟเบอร์ที่มีส่วนช่วยในเรื่องของการขับถ่าย มีสารแทนนินซึ่งมีส่วนช่วยในการยับยั้งการเจริญของจุลินทรีย์ที่มีชื่อว่า Escherichia coliที่เชื่อว่าทำให้เกิดอาการท้องร่วงได้ เป็นต้น ซึ่งกล้วยหอมได้ถูกจัดว่าเป็นผลไม้ของเขตเมืองร้อน สามารถปลูกได้เกือบทุกประเทศที่มีภูมิอากาศร้อนชื้นหลายแห่ง สำหรับประเทศไทยสามารถ ปลูกกล้วยหอมได้ทั่วทุกภาค ปัจจุบันประเทศไทยมีพื้นที่สำหรับปลูกกล้วยหอมอยู่ประมาณ ๑๔๐,๐๐๐ ไร่ (ผลการสำรวจปี พ.ศ. ๒๕๒๙) โดยพบว่าภาคที่มีการปลูกกล้วยหอมมากที่สุดได้แก่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ (อีสาน) ภาคใต้แต่ภาคใต้ และภาคตะวันออก จะเน้นปลูกกล้วยหอมเพื่อการค้า

ลักษณะทั่วไป
             ลำต้นสูง 2.5 - 3.5 เมตร เส้นผ่านศูนย์กลางมากกว่า 20 เซนติเมตร กาบลำต้นด้นนอกมีประดำ ด้นในสีเขียวอ่อนและมีเส้นลายสีชมพู ก้านใบมีร่องค่อนข้างกว้าง และ มีปีก เส้นกลางใบสีเขียวก้านเครือมีขน ปลีรูปไข่ ค่อนข้างยาว ปลายแหลม ด้านบนสีแดงอมม่วง มีไข ด้านในสีแดงซีด ติดผลเป็นเครือ เครือหนึ่งมี 4 - 6 หวี หวีหนึ่งมี 12 - 16 ผล กว้าง 3 - 4 เซนติเมตร ยาว 21 - 25 เซนติเมตร ปลายผลมีจุกเห็นชัดเปลือกบาง เมื่อสุกเปลี่ยนเป็นสีเหลืองทอง แต่ที่ปลายจุกจะมีสีเขียว แล้วเปลี่ยนสีภายหลัง เนื้อสีเหลืองเข้ม กลิ่นหอม รสหวาน


      การปลูก
การเตรียมดิน :
ไถดะ 1 ครั้ง ตากดินแล้วไถพรวน 1-2 ครั้ง ให้ดินร่วนซุยจนหมดวัชพืช ถ้ามียังวัชพืชอยู่มากกว่าร้อยละ 20 ต้องไถพรวนใหม่
การเตรียมหลุมปลูก:
1.             ระยะปลูกระหว่างแถวและต้น 2x2 เมตร
2.             ขนาดหลุมปลูก ขนาด 30x30x30 เซนติเมตร
3.             รองก้นหลุมด้วยดินผสมปุ๋ยอินทรีย์ ด้วย 5 กิโลกรัมต่อหลุม
การเตรียมพันธุ์และการปลูก:
1.             ใช้หน่อพันธุ์ที่สมบูรณ์ ปราศจากศัตรูพืช หน่อยาว 25-35 เซนติเมตร มีใบแคบ 2-3 ใบ
2.             วางหน่อพันธุ์ที่ก้นหลุม จัดวางให้ด้านที่ติดต้นแม่อยู่ในทิศทางเดียวกัน เพื่อให้มีการออกดอกไปในทิศทางเดียวกัน และสะดวกในการดูแลรักษา
3.             กลบดินและกดดินบริเวณโคนต้นให้แน่น คลุมดินด้วยฟางข้าวหรือหญ้าแห้ง และรดน้ำให้ชุ่ม
การให้น้ำ:
ต้องให้น้ำอย่างสม่ำเสมอตลอดฤดูปลูก
การให้ปุ๋ย:
1.             ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 1 และ 2 เมื่อกล้วยหอมอายุ 1 และ 3 เดือน ด้วยสูตร 20-10-10 หรือ 15-15-15 หรือสูตร ใกล้เคียงอัตรา 125-250 กรัมต่อต้นต่อครั้ง
2.             ใส่ปุ๋ยครั้งที่ 3 และ 4 เมื่ออายุ 5 และ 7 เดือน ด้วยสูตร 13-13-21 หรือสูตรใกล้เคียง อัตรา 125-250 กรัมต่อต้นต่อครั้ง
3.             ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ (ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก) ปีละ 1-2 ครั้ง
การแต่งหน่อ:
หลังจากปลูกกล้วยประมาณ 5 เดือน ให้แต่งหน่อ เพื่อให้ต้นแม่มีความสมบูรณ์
การค้ำยันต้น:
ต้องใช้ไม้ค้ำยันหรือดามกล้วยทุกต้น ที่ออกปลีแล้ว เพื่อป้องกันลำต้นหักล้ม และตรวจดูการค้ำยันให้อยู่ในสภาพที่มั่นคงแข็งแรง
การหุ้มเครือ และตัดใบธง:
การหุ้มเครือกระทำหลังจากตัดปลีไม่เกิน 15 วัน เพื่อให้ผิวกล้วยสวย และป้องกันแมลงทำลายด้วยถุงพลาสติกสีฟ้า แบบเปิดด้านล่าง โดยหุ้มทั้งเครือ และหุ้มทุกเครือ ส่วนการตัดใบธง ตัดเมื่อใบธงเริ่มหักก่อนที่จะเสียดสีกับผิวกล้วย


การขยายพันธุ์

เนื่องจากกล้วยหอมเป็นพืชที่ปลูกได้ง่ายพบกระจายอยู่ทั่วทุกภาคของประเทศไทย เหมาะกับดินที่ร่วนซุย และดินเหนียวที่อุ้มน้ำได้ดี สามารถขยายพันธุ์ด้วยหน่อหรือเหง้า แต่มีข้อจำกัดว่ากล้วยหอมไม่ชอบดินที่มีน้ำขัง

ประโยชน์

กล้วยหอมสามารถใช้ประโยชน์ได้หลายอย่าง เช่น
ส่วนที่ใช้เป็นยา : ผล ราก ยางกล้วยจากใบ เปลือกกล้วยหอม
1.             ผล ขับปัสสาวะ
2.             ยางกล้วยจากใบ ใช้ห้ามเลือด
3.             ผลดิบ ช่วยแก้โรคท้องเสียสมานแผลในกระเพาะอาหาร
4.             ผลสุก ใช้เป็นอาหาร กระตุ้นให้ร่างกายรู้สึกผ่อนคลาย อารมณ์สดใสและมีความสุข เป็นยาระบายสำหรับผู้ที่มีอุจจาระแข็ง ช่วยทุเลาอาการปวดท้อง ก่อนหรือขณะมีประจำเดือนได้ สามารถกระตุ้นความตื่นตัวให้กับสมองได้ หรือแม้กระทั่งช่วยทุเลาจากอาการเมาค้างเนื่องจากการดื่มสุราของมึนเมา นอกจากนี้การกินกล้วยหอม 1-2 คำ ระหว่างมื้อเช้า เที่ยงหรือเย็น ยังทุเลาอาการแพ้ท้องได้
5.             ราก ใช้ต้มน้ำแล้วดื่มเพื่อบรรเทาอาการปวดฟัน
6.             เปลือกกล้วยหอม สามารถลดอาการคันหรือบวม จากบริเวณที่ถูกยุงกัด ได้ โดยใช้เปลือกด้านใน หรือการนำเปลือกกล้วยหอมมาต้มน้ำดื่ม พบว่าสามารถช่วยลดอาการซึมเศร้าได้ นอกจากนี้ พบว่า หากเราใช้ด้านในของเปลือกกล้วยหอมสุก ถูเบาๆ บริเวณที่มีรอยหยาบกร้าน ทิ้งไว้ประมาณ 15 นาที จากนั้นล้างออกด้วยน้ำสะอาดตามปกติ จะทำให้ผิวนุ่มชุ่มชื่นขึ้น รอยหยาบกร้านจางหายไป

ส่วนที่ใช้ในงานฝีมือ ห่ออาหาร เลี้ยงสัตว์ : ลำต้น ใบ
1.             ลำต้น ใช้เป็นฐานกระทงหรือใช้หั่นเลี้ยงสัตว์
2.             ใบ ใช้ห่ออาหารจะทำให้อาหารคล่ำดำ ไม่น่ารับประทาน




ส่วนที่ใช้ด้านการเกษตร : เปลือกกล้วยหอม
1.             นำเปลือกกล้วยหอมวางไว้รอบๆ โคนต้นกุหลาบ แล้วโกยดินทับประมาณ 1 นิ้ว จะช่วยให้กุหลาบแตกกิ่งเร็วขึ้น

การส่งออกกล้วยหอม

ประเทศไทยมีการส่งออกกล้วยหอมไปยังประเทศต่างๆมากมาย เช่น

1.             ฮ่องกง
2.             สิงคโปร์
3.             ญี่ปุ่น
4.             เนเธอร์แลนด์
5.             สวิสเซอร์แลนด์

     
2.  กล้วยหิน  (Kluai Hin)

 ชื่อสามัญ : Saba
 ชื่อวิทยาศาสตร์ : Musa sp
 แหล่งกำเนิด : 2 ฝั่งแม่น้ำปัตตานี เขตพื้นที่หมู่บ้านเรือขุด
         ตำบลบาเจาะ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา
      
สรรพคุณของกล้วยหิน
1. ราก นำมาต้มดื่มแก้ไข้ แก้ร้อนในกระหายน้ำ แก้ท้องเสีย แก้บิด แก้ผื่นคัน สมานภายใน
             2. หยวกกล้วยเป็นอาหารที่ใช้ล้างทางเดินอาหาร หากนำมาเผาไฟรับประทานขับพยาธิ ส่วนน้ำคั้นจากต้น ใช้ทาป้องกันผมร่วง และทำให้ผมขึ้น
             3. ใบตองปิ้งไฟปิดแผลจากไฟไหม้ ต้มอาบแก้เม็ดผื่นคัน น้ำจากก้านใบใช้เป็นยาผาดสมาน รักษาโรคท้องเสีย แก้บิด
            4. ผลดิบ ใช้เป็นยาฝาดสมาน แป้งกล้วยดิบใช้โรยแผลเรื้อรัง แผลเน่าเปื่อย แผลติดเชื้อต่างๆ แก้อาการอาหารไม่ย่อย ท้องขึ้นมีกรดมาก ส่วนผลสุกใช้เป็นยาระบาย
           5. หัวปลี จิ้มน้ำพริกช่วยแก้โรคกระเพาะอาหาร ลดน้ำตาลในเลือด รักษาโรคเบาหวาน
      
รูปลักษณ์ของกล้วยหิน
             กล้วยหิน  มีลักษณะคล้ายกล้วยน้ำว้า ต้นใหญ่ โคนต้นวัดโดยรอบประมาณ  70 เซนติเมตร
สูง 3.5 – 5 เมตร    กาบด้านนอกสีเขียวนวล   ก้านใบค่อนข้างสั้นร่อง ใบเปิด    ใบกว้าง   40 – 50เซนติเมตร ยาว  1.5 เมตร ปลีรูปร่างค่อนข้างป้อมสั้น รูปร่างคล้ายดอกบัวตูม ด้านนอกของปลีเป็นสีแดงอมม่วง ด้านในสีแดง  เมื่อกาบเปิด จะไม่ม้วนงอ  กล้วยหินแต่ละต้นมีผล 1 เครือ โดยจะออกเครือเมื่อหน่ออายุประมาณ  8  เดือน  และเก็บเกี่ยวได้เมื่ออายุ  12  เดือน  หรือหลังจากออกเครือประมาณเดือน เครือหนึ่ง มี 7–10 หวี หวีหนึ่งมี  15 – 20 ผล    ผลเป็นรูปห้าเหลี่ยมเปลือกหนาค่อนข้างสมบูรณ์ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 3 – 5 เซนติเมตร ยาว 8 – 12 เซนติเมตร  ผลดิบเปลือก
สีเขียว เนื้อแข็ง  เมื่อสุกเปลือกสีเหลือง   เนื้อสีขาวอมเหลืองถึงเหลือง แน่นแข็ง  ไม่ยุ่ย    ปลายจุก
ป้าน เมื่อผลแก่จัดตัดมาเก็บไว้ได้นาน7 – 8 วัน การเรียง ตัวของผลเป็นระเบียบ มีช่องว่างเล็กน้อยอยู่ระหว่างหวีแต่ละหวี

ข้อดี / ลักษณะเด่นของกล้วยหิน
              1. เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วน ดินร่วนเหนียว ดินที่เป็นลูกรัง หรือดินกรวดหิน
              2. แตกกอเร็ว ปลูกครั้งเดียวเก็บเกี่ยวได้นาน เพราะกอหนึ่งมีหลายต้น
              3. ลำต้นใหญ่ แข็งแรง ไม่ค่อยมีโรค แมลงระบาด จึงไม่ต้องใช้สารเคมีป้องกันศัตรูพืชแต่อย่างใด
              4. ผลของกล้วยหินมีเปลือกหนา จึงมีความบอบช้ำต่อการขนส่งน้อยกว่า
              5. ผลแก่เก็บได้นาน 7 – 8 วัน ก็ยังไม่เน่าเสีย
              6. ใช้ประโยชน์ได้เกือบทุกส่วน ตั้งแต่รากจนถึงปลีและผลโดยเฉพาะผลมีรสชาดอร่อย แปรรูปได้หลายอย่าง
              7. ปลูกแซมในสวนผลไม้ เป็นร่มเงาได้ดีมาก ทำให้สวนผลไม้มีความชื้น ต้นไม้ผลที่เริ่มปลูกใหม่เจริญเติบโตได้ดีมากขึ้น
              8. ทนต่อสภาพแห้งแล้งได้ดี

 



         3. น้ำตาลทรายขาว

น้ำตาล คือ สารให้ความหวานตามธรรมชาติชนิดหนึ่ง มีเรียกกันหลายแบบ ขึ้นอยู่กับรูปร่างลักษณะของน้ำตาล เช่น น้ำตาลทราย น้ำตาลกรวด น้ำตาลก้อน น้ำตาลปีบ เป็นต้น แต่ในทางเคมี โดยทั่วไปหมายถึง ซูโครส หรือ แซคคาโรส ไดแซคคาไรด์ ที่มีลักษณะเป็นผลึกของแข็งสีขาว น้ำตาลเป็นสารเพิ่มความหวานที่นิยมใช้กันอย่างแพร่หลาย ในอุตสาหกรรมการผลิตอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ขนมหวาน และเครื่องดื่ม ในทางการค้าน้ำตาลผลิตจาก อ้อย(sugar cane) , ต้นตาล(sugar palm),ต้นมะพร้าว (coconut palm),ต้นเมเปิ้ลน้ำตาล(sugar maple) และ หัวบีท (sugar beet) ฯลฯ น้ำตาลที่มีองค์ประกอบทางเคมีแบบง่ายที่สุด หรือ โมโนแซคคาไรด์ เช่น กลูโคสเป็นที่เก็บพลังงานที่จะต้องใช้ในกิจกรรม ทางชีววิทยาของเซลล์ ศัพท์ทางเทคนิคที่ใช้เรียกน้ำตาลจะลงท้ายด้วยคำว่า "-โอส" (-ose) เช่น กลูโคส

การผลิต

น้ำตาลทราย หรือ ซูโครส สกัดได้จากพืชหลายชนิด คือ

1.             อ้อย (Sugarcane-Saccharum spp.) มีน้ำตาลประมาณ 12%-20% โดยน้ำหนักของอ้อยแห้ง
2.             ต้นบีท (sugar beet-Beta vulgaris)
3.             อินทผลัม (date palm-Phoenix dactylifera)
4.             ข้าวฟ่าง (sorghum-Sorghum vulgare)
5.             ซูการ์เมเปิล (sugar maple-Acer saccharum)
ในช่วงระหว่างปี พ.ศ. 2544-2545มีการผลิตน้ำตาลจากทั่วโลกประมาณ 134.1 ล้านตัน ประเทศที่ผลิตน้ำตาลจากอ้อยส่วนใหญ่เป็นประเทศในเขตร้อน เช่น ออสเตรเลีย บราซิล และประเทศไทย ในปี พ.ศ. 2544-2545 มีการผลิตน้ำตาลเพิ่มขึ้นสองเท่าในประเทศกำลังพัฒนา เมื่อเทียบกับประเทศที่พัฒนาแล้ว ปริมาณน้ำตาลที่ผลิตมากที่สุดอยู่ใน ละตินอเมริกา สหรัฐอเมริกาและชาติในกลุ่ม แคริบเบียน และ ตะวันออกไกล แหล่งน้ำตาลจากต้นบีทจะอยู่ในเขตอากาศเย็นเช่น: ตะวันตกเฉียงเหนือและตะวันออกของยุโรป ญี่ปุ่นตอนเหนือ และบางพื้นที่ในสหรัฐอเมริการวมทั้งรัฐแคลิฟอร์เนียด้วย ผู้ส่งออกน้ำตาลรายใหญ่เป็นอันดับ 2 ของโลก คือสหภาพยุโรป ตลาดน้ำตาลยังถูกโจมตีโดยน้ำเชื่อมกลูโคส (glucose syrups) ที่ผลิตจากข้าวสาลีและข้าวโพดร่วมทั้งน้ำตาลสังเคราะห์ (artificial sweeteners) ด้วย ทำให้เป็นประโยชน์ต่อผู้ผลิตเครื่องดื่มที่มีต้นทุนถูกลง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น